Wecome

Pretty Welcome Signs from DollieCrave.com
ยินดีต้อนรับสู่บล็อกของพลอยคะ (นางสาวพลอยไพลิน อาจหาญ คณะศึกษาศาสตร์ เอกการศึกษาปฐมวัย)

วันศุกร์ที่ 28 ธันวาคม พ.ศ. 2555

วันศุกร์ที่ 21 ธันวาคม พ.ศ. 2555

วันศุกร์ที่ 14 ธันวาคม พ.ศ. 2555

บันทึกการเรียนครั้งที่ 7


บรรยากาศในห้องเรียน

เพื่อนในห้องขาดประมาณ 3-4 คน แอร์ในห้องเรียนเย็นสบายแต่ก็มีเพื่อนบางคนที่ชอบคุยกันเวลาอาจาย์สอนทำให้เพื่อนไม่มีสมาธิฟังเวลาอาจารย์สอน และอาจารย์ก็ขาดช่วงสอนไม่ต่เนื่อง

 

การเรียนการสอน

- วันนี้อาจารย์ได้แจกกระดาษเช็คชื่อตามปกติ

- อาจารย์ได้ถามถึง "เมื่อพูดถึงมาตรฐานจะนึกถึงอะไร " การวัด การได้รับการยอมรับ หลักเกณฑ์ คุณภาพ
- แล้วมาตรฐานมีความจำเป็นอย่างไร ทำให้เราสามารถเลือกได้ว่าอะไร ดีอะไรไม่ดีดูได้จากมาตรฐาน
-สสวท. ย่อมาจาก สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์เเละเทคโนโลยี

-อาจารย์ได้ถามว่าทำไมเด็กถึงไม่ชอบคณิตศาสตร์นักศึกษาตอบอาจ เป็นเพราะว่า ทัศนคติที่มีต่อคณิตศาสตร์ การเรียน การสอน การเลี้ยงดูจากพ่อ แม่

*ทักษะและกระบวนการทางคณิตศาสตร์ ได้แก่ การแก้ไขปัญหา การให้เหตุผล การสื่อสาร การสื่อความหมายทางคณิตศาสตร์และการนำเสนอ การเชื่อมโยงความรู้ต่างๆทางคณิตศาสตร์และเชื่อมโยงคณิตศาสตร์กับศาสตร์อื่นๆ และมีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์

-แล้วอาจารย์ก็ให้ไปอ่านมาตรฐานในหนังสือ "คู่มือกรอบมาตรฐาน การเรียนรู้คณิตศาสตร์ปฐมวัย" ให้เพื่อนๆฟัง เเละได้อธิบายให้นักศึกษาฟัง
*เพราะอาจาย์ติดธุระต้องไปประชุมด่วน

วันศุกร์ที่ 7 ธันวาคม พ.ศ. 2555

บันทึกการเรียนครั้งที่ 6

บรรยากาศในห้องเรียน
วันนี้เพื่อนในห้องค่อนข้างพากันมาน้อย แล้วก็ทะยอนพากันเข้ามาเป็นกลุ่มๆ ทำให้เพื่อนในห้องเสียสมาธิในการฟังอาจารย์ และอาจารย์ก็พูดขาดช่วง แต่พอสักพักก็เริ่มลงตัว
การเรียนการสอน
- อาจารย์ให้ส่งการบ้านที่สัปดาห์ก่อนส่งไป ถ้าใครส่งช้าอาจารย์ก็จะไม่รับงาน เพราะอาจารย์จะเริ่มสอนเรื่องใหม่ (งานคู่ นางสาวนุชนารถ ภาคภูมิ กับนางสาวชนนิภา วัฒนาภาเกษม)
- อาจารย์ได้พูดถึงเรื่อง กล่องที่ให้นักศึกษานำมาว่าจะนำกล่องนี้ไปสอนเด็กได้อย่างไร
กล่องสามารถเป็นเครื่องมือในการวัดได้
การเปรียบเทียบขนาดของกล่อง
การจัดกลุ่ม
-จากนั้นอาจารย์ให้จับกลุ่มละ 11 คน และให้นักศึกษานำกล่องที่เตรียมมาต่อเป็นรูปอะไรก็ได้

โดย
กลุ่มที่ 1 สามารถพูดคุยกันได้ปรึกษาหาลือกันได้ว่าจะทำรูปอะไร
กลุ่มที่ 2 พูดคุยกันได้แต่ลงมาต่อเติมรูปทีละคน
กลุ่มที่ 3 ห้ามพูดคุยกันแล้วลงมาทำทีละคน
 
กลุ่มที่ 1 ต่อเป็นรูปหุ่นยนต์ 2012

กลุ่มที่ 2 ต่อเป็นรูปบ้าน

กลุ่มที่ 3 ต่อเป็นรูปชานชลารถไฟ
- อาจารย์ให้ช่วยกันคิดอุปกรณ์ที่สามารถนำมาทำสื่อคณิตศาสตร์ได้

เปลือกหอย, กล่อง, กล่องนม, กระดาษ, ไม้ไอศกรีม, ขวด, กระดุม, ปฏิทิน, ถ้วยปีโป้, ฝาขวด, ไม้เสีบยลูกชิ้น, เปลือกลูกอม

-จนสรุปได้ว่าจะนำฝาขวดน้ำมาประดิษฐ์ กลุ่มเรานำฝาขวดน้ำมาทำเป็นการนับลูกคิด



 

วันศุกร์ที่ 30 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555

บันทึกการเรียน ครั้งที่5




สิ่งที่เรียนในวันนี้  อาจารย์ ทบทวนบทเรียนเมื่อสัปดาห์ที่แล้ว   ในเรื่องของขอบข่ายของคณิตศาสตร์ โดยการยกตัวอย่าง
( นิตยา ประพฤติกิจ  2541 : 17 – 19 ) 
<!--[if !supportLists]-->1.           <!--[endif]-->การนับ สิ่งที่ได้คือ  = จำนวน  คิด  สัญลักษณ์  จำนวนกำกับเลขฮินดูอารบิก   สัญลักษณ์  เรียงลำดับ
<!--[if !supportLists]-->2.           <!--[endif]-->ตัวเลข  = เป็นสัญลักษณ์เพื่อกำกับค่า เพื่อสื่อสาร
<!--[if !supportLists]-->3.           <!--[endif]-->การจับคู่  =  เหมือนกัน  รูปร่าง  รูปทรง  จำนวน
<!--[if !supportLists]-->4.           <!--[endif]-->ประเภท = กำหนดเกณฑ์  เช่น  สัตว์บก  สัตว์น้ำ
<!--[if !supportLists]-->5.           <!--[endif]-->การเปรียบเทียบ = หาค่า , เปรียบเทียบ , ให้เด็กลงมือกระทำ ต้องสามารถจับต้องได้เป็น 3 มิติ การเปรียบเทียบให้เด็กต้องจับคู่เป็น  1:1  ตามทฤษฎีของเพียเจต์ ต้องให้เด็กลงมือปฏิบัติจริง เพื่อนำไปสู่นามธรรม
<!--[if !supportLists]-->6.           <!--[endif]-->จัดลำดับ = หาค่าปริมาณ  เปรียบเทียบ  เรียงลำดับตัวเลข   เช่น   ก่อน - หลัง  เตี้ย -  สูง
<!--[if !supportLists]-->7.           <!--[endif]-->รูปทรงและเนื้อหา  = รูปทรงมีมิติ  มีเนื้อที่ ปริมาณ
<!--[if !supportLists]-->8.           <!--[endif]-->การวัด = ค่าปริมาณ  ความยาว  ( อุปกรณ์  เช่น   ไม่บรรทัด  ) หน่วย  เครื่องมือ 
<!--[if !supportLists]-->9.           <!--[endif]-->เซต  การจับกลุ่ม  มีความสัมพันธ์เชื่อมโยงกัน
<!--[if !supportLists]-->10.  <!--[endif]-->เศษส่วน  =  เด็กต้องรู้จักคำว่าทั้งหมด  ปูพื้นฐานของเศษส่วน   เช่น นักเรียนเอาขนมเค้กไปกินครึ่งหนึ่งของทั้งหมด  การแบ่งเด็ก  การแบ่งไม่เท่ากัน    ต้องรู้จักคำว่า  ครึ่ง  เท่าๆกัน  ให้เด็กลงมือทำเอง
<!--[if !supportLists]-->11.  <!--[endif]-->ทำตามแบบและลวดลาย =  บางอย่างเด็กต้องทำตามแบบเพื่อสื่อสารให้เหมือนกัน  เช่น  การเขียนตัวเลข  ต้องใช้ประสาทสัมผัสทั้ง 5 ลงมือกระทำ  และให้ความอิสรเสรี
<!--[if !supportLists]-->12.  <!--[endif]-->อนุรักษ์  = เช่น การเปรียบระดับน้ำในแก้ว แก้วสูง เตี้ย  เมื่อนำน้ำ 2 แก้วที่มีขนาดเท่ากัน 2 แก้ว  โดยแก้วหนึ่งใส่แก้วสูง อีกแก้วใส่แก้วเตี้ย เด็กจะตอบตามที่ตาเห็นว่า น้ำที่อยู่ในแก้วสูงมากว่าแก้วเตี้ย  เด็กจะตอบตามรูปธรรม และต่อไปเด็กจะเรียนรู้ในรูปแบบที่เป็น กึ่งสัญลักษณ์ , นามธรรม , รูปภาพ  เช่น  มีดินน้ำมัน 2 ก้อน ก้อนละเท่าๆกัน ดินน้ำมันสีเขียวกับสีส้ม  นำดินน้ำมันมาปั้นเป็นรูปงู  สีเขียวยาว 3 นิ้ว สี้ส้ม  3 นิ้ว แล้วน้ำสีส้มวางเยื้องไปจากสีเขียวเด็กจะตอบว่าสีใดยาวกว่ากัน ?  เด็กตอบว่าสีส้มยาวกว่าสีเขียว  เด็กจะตอบตามที่ตาเห็น 


( เยาวภา  เตชะ )
<!--[if !supportLists]-->1.           <!--[endif]-->การจัดกลุ่มหรือเซต
<!--[if !supportLists]-->2.           <!--[endif]-->จำนวน  1 -10
<!--[if !supportLists]-->3.           <!--[endif]-->ระบบจำนวน
<!--[if !supportLists]-->4.           <!--[endif]-->ความสัมพันธ์ระหว่างเซตต่างๆ
<!--[if !supportLists]-->5.           <!--[endif]-->การรวมกลุ่ม
<!--[if !supportLists]-->6.           <!--[endif]-->ลำดับที่  เรียงลำดับ
<!--[if !supportLists]-->7.           <!--[endif]-->การวัด  ( หาค่า  ปริมาณ) ความสูง  ความยาว  น้ำหนัก  อากาศ  อุณหภูมิ
<!--[if !supportLists]-->8.           <!--[endif]-->รูปทรงเลขาคณิต
<!--[if !supportLists]-->9.           <!--[endif]-->สถิติและกราฟ  ( การเพิ่มขึ้น )  รูปภาพที่แสดงข้อมูล 

งานที่มอบหมาย
<!--[if !supportLists]-->1.           <!--[endif]-->จับคู่ 2 คน  ช่วยกันคิด  12  ข้อ
<!--[if !supportLists]-->2.           <!--[endif]-->ให้นำกล่องที่มีรูปทรงอย่างไรก็ได้มา  เช่น  กล่องยาสีฟัน  กล่องครีม

วันศุกร์ที่ 23 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555

บันทึกการเรียน ครั้งที่ 4


ไม่มีการเรียนการสอน
เนื่องจากจัดกิจกรรมกีฬาสีของคณะศึกษาศาสตร์



วันศุกร์ที่ 16 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555

บันทึกการเรียนครั้งที่ 3


วันนี้อาจารย์ให้นั่งเปลี่ยนกลุ่มและให้ทำงานกลุ่มร่วมกัน โดยการนำงานสัปดาห์ที่แล้วที่ทำเป็นงานเดี่ยวมาทำเป็นงานกลุ่ม
เริ่มจากความหมายของคณิตศาสตร์
สรุปโดย
นางสาว พลอยไพลิน  อาจหาญ
นางสาว ชลินดา  คำจันทร์
นางสาว สนฤดี โพธิภะ
  ความหมายของคณิตศาสตร์เป็นศาสตร์ที่เกี่ยวข้องกับตัวเลข มีการใช้สัญลักษณ์ทางคณิตศาสตร์เป็นภาษาสากลที่มีโครงสร้างแน่นอนและมีความสัมพันธ์ต่อเนื่องกัน ( อ้างอิงจาก มาร์เชล  สโตน,ฉวีวรรณ  พฤติกรรมการสอนคณิตศาสตร์ระดับประถมศึกษาและศักดิ์ดา บุญโต  ความคิดเชิงวิเคราะห์ )
จุดมุ่งหมายของคณิตศาสตร์
   เพื่อให้ผู้เรียนมีความรู้พื้นฐานในรคิดและคำนวณ  สามารถนำประสบการณ์ทางด้านความรู้  ความคิด  และทักษะที่ได้ไปใช้ในการเรียนรู้สิ่งต่างๆ และใช้ในชีวิตประจำวัน 
ทฤษฎีของคณิตศาสตร์
ลำดับของการเรียนการสอนในคณิตศาสตร์  เริ่มจากการทบทวนความรู้เดิม  แล้วสอนความรู้ใหม่ด้วยการแสดงความคิดความพร้อม การฝึกและฝึกทักษะการเสริมแรงและการนำไปใช้ในชีวิตประจำวัน
ขอบเขตการเรียนการสอนคณิตศาสตร์
ในการเรียนการสอนคณิตศาสตร์ ครูและนักเรียนต้องมีความรู้ความเข้าใจพื้นฐานในทุกเรื่องก่อน ซึ่งเนื้อหาคณิตศาสตร์แต่ละพื้นฐานต้องมีความสัมพันธ์กันและเหมาะสมกับวัย วุฒิภาวะของผู้เรียน
หลักการทางคณิตศาสตร์
1.      กำหนดจุดมุ่งหมาย
2.      จัดกิจกรรมให้หลากหลาย
3.      การเรียนรู้จากการค้นพบ
4.      การจัดกิจกรรมที่มีระบบ
5.      ฝึกหัดหลังจากการเรียนรู้
ดังนั้น กระบวนการสอนถือว่า เป็นสิ่งที่สำคัญสุด เพราะถ้าครูทำแบบฝึกหัดแล้วเฉลย เด็กจะไม่ได้ฝึกทักษะ ทำให้เด็กเกิดความเบื่อหน่าย ไม่อยากเรียน และคิดว่าคณิตศาสตร์เป็นวิชาที่ยาก

วันศุกร์ที่ 9 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555

บันทึกการเรียนครั้งที่ 2



บรรยากาศในห้องเรียน
ห้องเรียนสะอาดเรียบร้อย เปิดแอร์หนาวไปหน่อย อุปรกณ์การเรียนการสอนก็พร้อมที่จะเรียน
การสอน สนุกสนาน อาจารย์ได้ให้แสดงความคิดเห็นร่วมกับอาจารย์ แล้วช่วยกันตอบได้ดี


การเรียนการสอน
-อาจารย์ได้แจกกระดาษให้คนละแผ่น ให้เขียนตามคำบอก เป็นภาษาอังกฤษ


- อาจารย์ได้พูดถึงเรื่องนักทฤษฎีตามหลักด้านสติปัญญา นั้นก็คือ เพียเจต์ และบรูเนอร์ ว่า คณิตศาสตร์เป็นเรื่องที่ใกล้ตัวเรา จึงยกตัวอย่างสิ่งที่อยู่รอบตัวเราในห้องเรียนว่ามีอะไรบ้าง

-แล้วอาจารย์ได้สั่งงานให้ไปค้นคว้าหาหนังสือคณิตศาสตร์อะไรก็ได้ที่สำนักวิทยบริการ 2-3เล่ม
จะต้องมีชื่อหนังสือ /ผู้แต่ง /ปี/สำนักพิมพ์
-หาความหมายของคณิตศาสตร์ 1เล่ม ต้องมีชื่อหนังสือ /ผู้แต่ง /ปี/สำนักพิมพ์
-หาจุดมุ่งหมายของคณิตศาสตร์ ต้องมีชื่อหนังสือ /ผู้แต่ง /ปี/สำนักพิมพ์
-การสอนหรือการจัดประสบการณ์คณิตศาสตร์
-ขอบข่ายของคณิตศาสตร์
-หลักการสอนของคณิตศาสตร์

วันศุกร์ที่ 2 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555

บันทึกการเรียน ครั้งที่1



ให้นักศึกษาเขียนประโยคมา 2 ประโยค ที่แสดงให้รู้ว่าคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัยคืออะไร
และเป้าหมายในการจัดประสบการณ์ทางคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
 ทางวัดประสบการณ์มีอะไรบ้าง
การจัดประสบการณ์
คณิตศาสตร์
เด็กปฐมวัย
วิธีการเรียนรู้
พัฒนาการ (  ความอยาก ความต้องการ  วุฒิภาวะ ความพร้อม)
การเปลี่ยนแปลงที่เป็นไปตามลำดับขั้นอย่างต่อเนื่อง
ทฤษฎีที่ตรงตามพัฒนาการ  ( เพียเจต์และบรูเนอร์)
 เพียเจต์เชื่อว่าคนเราทุกคนตั้งแต่เกิดมา  พร้อมที่จะมีปฏิสัมพันธ์กับสิ่งแวดล้อมและโดยธรรมชาติของมนุษย์เป็นผู้พร้อม ที่  จะมีกริยากรรมหรือเริ่มกระทำก่อน (Active)  นอกจากนี้เพียเจต์ถือว่ามนุษย์เรามีแนวโน้มพื้นฐานที่ติดตัวมาตั้งแต่กำเนิด 2 ชนิด  คือ การจัดและรวบรวม(Oganization) และ การปรับตัว (Adaptation)  ซึ่งอธิบายดังต่อไปนี้   
  
การจัดและรวบรวม (Oganization)   หมายถึง การจัดและรวบรวมกระบวนการต่างๆภายใน  เข้าเป็นระบบอย่างต่อเนื่อง เป็นระเบียบ  แและมีการปรับปรุงเปลียนแปลงอยู่ตลอดเวลาตราบที่ ยังมีปฏิสัมพันธ์กับสิ่งแวดล้อม   
 
การปรับตัว (Adaptation)               หมายถึง  การปรับตัวให้เข้ากับสิ่งแวดล้อมเพื่ออยู่ในสภาพสมดุล  การปรับตัวประกอบด้วยกระบวนการ 2 อย่าง คือ                                  
  http://ednet.kku.ac.th/~sumcha/cognitive/pic/icon/save_icon.gif 1.
การซึมซาบหรือดูดซึม (Assimilation)                       เมื่อ  มนุษย์มีปฏิสัมพันธ์กับสิ่งแวดล้อมก็จะซึมซาบหรือดูดซึมประสบการณ์ใหม่  ให้รวมเข้าอยู่ในโครงสร้างของสติปัญญา(Cognitive Structure) โดยจะเป็นการตีความ  หรือการรับข้อมูลจากสิ่งแวดล้อม                                
  http://ednet.kku.ac.th/~sumcha/cognitive/pic/icon/save_icon.gif 2.
การปรับโครงสร้างทางปัญญา (Accomodation)                       หมาย ถึง  การเปลี่ยนแบบโครงสร้างของเชาว์ปัญญาที่มีอยู่แล้วให้เข้ากับสิ่งแวดล้อม  หรือประสบการณ์ใหม่  หรือเป็นการเปลี่ยนแปลงความคิดเดิมให้สอดคล้องกับสิ่งแวดล้อมใหม่  ซึ่งเป็นความสามารถในการปรับโครงสร้างทางปัญญา    


รากฐานทางปรัชญาของทฤษฎีมาจากความพยายามที่จะเชื่อมโยงประสบการณ์เดิมกับประสบการณ์ใหม่  ด้วยกระบวนการที่พิสูจน์อย่างมีเหตุผล เป็นความรู้ที่เกิดขึ้นจาก  การไตร่ตรอง ซึ่งถือเป็นปรัชญาปฏิบัตินิยมประกอบกับหลักฐานทางจิตวิทยาการเรียนรู้ที่มี  อิทธิพลต่อแนวคิดของเพียเจต์เอง  ซึ่งเชื่อว่า การเรียนรู้เกิดขึ้นจาก  การปรับตัวเข้าสู่สภาวะสมดุลย์ (Equilibrium)  ระหว่างอินทรีย์และสิ่งแวดล้อม สรุปแล้วในพัฒนาการเชาวน์ปัญญาบุคคลต้องมีการปรับตัวซึ่งประกอบด้วยกระบวนการสำคัญ  2 อย่าง  คือ การดูดซึมหรือซึมซาบเข้าสู่โครงสร้างทางปัญญา  (Assimilation) และ การปรับโครงสร้างทางสติปัญญา  (Accomodation  เพีย เจต์ กล่าวว่า  ระหว่างระยะเวลาตั้งแต่ทารกจนถึงวัยรุ่น  คนเราจะค่อยๆสามารถปรับตัวเข้ากับสิ่งแวดล้อมได้มากขึ้นตามลำดับขั้น  โดยเพียเจต์ได้แบ่งลำดับขั้นของพัฒนาการเชาวน์ปัญญาของมนุษย์ ไว้ 4 ขั้น  ซึ่งเป็นขั้นพัฒนาการเชาวน์ปัญญา ดัง   
   
ขั้นที่1...Sensorimotor (แรกเกิด - ขวบ)  เพียเจต์  เป็นนักจิตวิทยาคนแรกที่ได้ศึกษาระดับเชาวน์ปัญญาของเด็กวัยนี้ไว้อย่าง  ละเอียดจากการสังเกตบุตร 3 คน   โดยทำบันทึกไว้และสรุปว่าวัยนี้เป็นวัยที่เด็กมีปฏิสัมพันธ์กับสิ่งแวดล้อม  โดยประสาทสัมผัสและการเคลื่อนไหวของอวัยวะ ต่างๆของร่างกาย   
                       
  ขั้นที่2...Preoperational  (อายุ18 เดือน - 7 ปี) เด็ก  ก่อนเข้าโรงเรียนและวัยอนุบาลมีระดับเชาวน์ปัญญาอยู่ในขั้นนี้  เด็กวัยนี้มีโครงสร้างของสติปัญญา(Structure)   ที่จะใช้สัญลักษณ์แทนวัตถุสิ่งของที่อยู่รอบๆตัว ได้  หรือ  มีพัฒนาการทางด้านภาษา เด็กวัยนี้จะเริ่มด้วยการพูดเป็นประโยคและเรียนรู้คำต่างๆเพิ่มขึ้น  เด็กจะได้รู้จักคิด อย่างไรก็ตาม  ความคิดของของเด็กวัยนี้ยังมีข้อจำกัดหลายอย่างเด็กก่อนเข้าโรงเรียนและวัย อนุบาล  มีระดับเชาวน์ปัญญาอยู่ในขั้นนี้ เด็กวัยนี้มีโครงสร้างของสติปัญญา(Structure)  ที่จะใช้สัญลักษณ์แทนวัตถุสิ่งของที่อยู่รอบๆตัวได้  หรือมีพัฒนาการทางด้านภาษาเด็กวัยนี้จะเริ่มด้วยการ พูดเป็นประโยคและเรียนรู้คำต่างๆเพิ่มขึ้นเด็กจะได้รู้จักคิด  อย่างไรก็ตามความคิดของของเด็กวัยนี้ยังมีข้อจำกัดหลายอย่าง 
ขั้นที่3...Concrete  Operations (อายุ 7 - 11 ปี) พัฒนาการทางด้านสติปัญญาและความคิดของเด็กวัยนี้แตกต่างกันกับเด็กในขั้น  Preperational มาก   เด็กวัยนี้จะสามารถสร้างกฎเกณฑ์และตั้งกฎเกณฑ์ในการ  แบ่งสิ่งแวดล้อมออกเป็นหมวดหมู่ได้ คือ  เด็กจะสามารถที่จะอ้างอิงด้วยเหตุผลและไม่ขึ้นกับการรับรู้จากรูปร่างเท่า  นั้นเด็กวัยนี้สามารถแบ่งกลุ่ม โดยใช้เกณฑ์หลายๆอย่าง และคิดย้อนกลับ  (Reversibility) ได้  ความเข้าใจเกี่ยวกับกิจกรรมและ ความสัมพันธืของตัวเลขก็เพิ่มมากขึ้น
 
ขั้นที่4...Formal Operations  (อายุ 12 ปีขึ้นไป)  ในขั้นนี้พัฒนาการเชาวน์ปัญญาและความคิดเห็นของเด็กเป็นขั้นสุดยอดคือ  เด็กในวัยนี้จะเริ่มคิดเป็นผู้ใหญ่  ความคิดแบบเด็กสิ้นสุดลง  เด็กสามารถที่จะคิดหาเหตุผลนอกเหนือไปจากข้อมูลที่มีอยู่  สามารถที่จะคิดเป็นนักวิทยาศาสตร์   สามารถที่จะตั้งสมมุติฐานและทฤษฎีและเห็นว่าความจริงที่เห็นด้วยกับการรับ  รู้ไม่สำคัญเท่ากับการคิดถึงสิ่งที่อาจเป็นไปได้ (Possibility)เพียเจต์ได้สรุปว่า"เด็กวัยนี้เป็นผู้ที่คิดเหนือไป  กว่าสิ่งปัจจุบันสนใจที่จะสร้างทฤษฎีเกี่ยวกับ ทุกสิ่งทุกอย่าง  และมีความพอใจที่จะคิดพิจารณาเกี่ยวกับกับสิ่งที่ไม่มีตัวตนหรือสิ่งที่เป็นนามธรรม